จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไปยังการนำทาง ไปยังการค้นหา

]

ประวัติ

ก ไก่ เป็นพยัญชนะตัวแรกในประวัติศาสตร์ไทย ที่เชื่อกันว่าดัดแปลงมาจากอักษรปัลลวะของอินเดีย แต่เดิมมีรูปอักษร แต่ไม่มีคำกำกับ เพิ่งมาก่อรูปเมื่อสมัยรัชกาลที่ 3 ต่อมาสมัยรัชกาลที่ 4 จึงเริ่มมีคำกำกับ ก ไก่ ข ไข่ สำหรับให้นักเรียนท่องครบทั้ง 44 ตัว

เสียง

ลักษณะเสียงทางสัทศาสตร์ จัดเป็นเสียงกัก อโฆษะ (ไม่ก้อง) มีแหล่งกำเนิดเสียงที่โคนลิ้นและเพดานอ่อน สัญลักษณ์แทนเสียงด้วยสัทอักษรสากล คือ /k/

ในตำราภาษาไทยแต่เดิม ถือว่า ก นั้นเป็นพยัญชนะวรรค กะ เรียกว่า กัณฐชะ คือ มีฐานเสียงจากคอ หรือเสียงลงคอ และอยู่ในกลุ่มอโฆษะ ธนิต (เสียงไม่ก้อง ลมน้อย)

ในภาษาถิ่นบางถิ่น เช่น ภาษาถิ่นย่อยของภาษาผู้ไท หรือภาษาไทยถิ่นใต้ ไม่ออกเสียง /ก/ เมื่อเป็นตัวสะกดในพยางค์ที่ประสมด้วยสระเสียงยาว เช่น โลก, ลูก, แยก

การเขียน

การเขียนอักษร ก ในหนังสือไทย นิยมเริ่มจากด้านล่าง ชิดเส้นบรรทัด ลากขึ้นไปข้างบน วกด้านขวาเล็กน้อย แล้ววกออกซ้าย จากนั้นโค้งขึ้นข้างบน แล้วลดลงไปด้านขวา จากนั้นลากตรงลงด้านลง ขนานกับเส้นที่ลากขึ้นตอนแรก จากนั้นลากลงไปชิดกับเส้นบรรทัด ในแนวเดียวกับจุดเริ่ม (ดูภาพประกอบ)

อ้างอิง

  • จินดามณี ฉบับหมอบลัดเล. กรุงเทพฯ : โฆษิต,